Mar 30, 2010

การบรรยายเชิงวิชาญี่ปุ่นศึกษา รายเดือน ครั้งที่ 6ในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ไทยจากสายตานักวิชาการญี่ปุ่น;ศาสตราจารย์อิชิอิ โยเนะโอะ และศาสตราจารย์ โยชิกาวะ โทชิฮารุ



ในวันที่ 24มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.30 น.- 16.30 น. ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดการบรรยายเชิงวิชาการญี่ปุ่นศึกษา รายเดือน ครั้งที่ 6 ขึ้น ในหัวข้อ"ประวัติศาสตร์ไทยจากสายตานักวิชาการญี่ปุ่น;ศาสตราจารย์อิชิอิ โยเนะโอะและศาสตราจารย์โยชิกาวะ โทชิฮารุ" โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์สายชล สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่นและนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นประจำปี 2552 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) มาเป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้
ศาสตราจารย์สายชล สัตยานุรักษ์
ในการบรรยายครั้งนี้มีผู้ให้ให้ความสนใจทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์ นักศึกษา และยังได้รับเกียรติจากท่านโทคุโร อัมเบะ รองกงสุลญี่ปุ่นประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเชียงใหม่มาเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ด้วย ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาขอขอบพระคุณทุกท่านที่เสียสละเวลามาเข้าร่วมในการบรรยายครั้งนี้ และทางศูนย์หวังว่าจะได้รับความกรุณาจากท่านอีกในครั้งต่อไป

Mar 29, 2010

การบรรยายทางวิชาการของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาครั้งที่ 7 มองสังคมญี่ปุ่นผ่านภาพยนตร์ 映画から見る日本社会



第7回北部タイ日本研究連続セミナーが、4月28日にチェンマイ大学人文学部にて行われます。  การบรรยายทางวิชาการของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯในครั้งที่ 7 ประจำเดือนเมษายนนี้ จะจัดขึ้นที่คณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 28 เมษายน 2553
日本映画に詳しいスコータイ・タマティラート放送大学コミュニケーション学部カムチョン・ルイヤポン助教授を招き、2008年公開の『おくりびと』から見る日本社会について話していただきます。โดยทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาจะจัดฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง Departures (ความสุขนั้น...นิรันดร) หลังจากนั้นจะมีการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมญี่ปุ่นที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ วิทยากรรับเชิญในการบรรยายครั้งนี้ คือ ผศ. กำจร หลุยยะพงศ์ อาจารย์สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
日時:2010年4月28日 13:30-16:30
場所:チェンマイ大学人文学部HB7820
入場無料 
使用言語:タイ語(日本語通訳)
お問い合わせ:053-943284(日本研究センター)

วันที่ : 28 เมษายน 2553 เวลา: 13:30 – 16:30 น.
สถานที่ : ห้อง HB7802 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่เสียค่าเข้าชม
บรรยายเป็นภาษาไทย (มีแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น)
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : 053 – 943284 (ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ) 

Mar 24, 2010

DVDの寄贈 ได้รับบริจาคดีวีดี



CLLボランティアの岡部夫妻から、DVD10本を寄贈していただきました。

ขอขอบคุณ คุณโอะคะเบะ และภรรยา อาสาสมัครจาก CLL (Chiang Mai Long Stay Life Club) ที่บริจาคดีวีดีภาพยนตร์ 10 เรื่อง ให้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ

また、日本語学科のベンジャン先生からもジブリシリーズの『もののけ姫』と『千と千尋の神隠し』を寄贈していただきました。ありがとうございました。これまでのDVDと同じように、タイ語訳つきのDVDです。

นอกจากนี้  อาจารย์เบญจางค์ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น ยังได้บริจาควีดีโออนิเมชั่นของจิบลิสตูดิโอ เรื่อง “Princess Mononoke” และ “Spirited Away” ทางศูนย์ญี่ปุ่นฯ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ในส่วนของดีวีดีที่มีที่ศูนย์ญี่ปุ่นฯและได้รับบริจาคมาในครั้งนี้ มีแปลภาษาไทยด้วย
                                                               

Mar 22, 2010

DVD追加購入1จัดซื้อ ดีวีดี เพิ่มเติม 1



今月の新着DVDのお知らせです。黒沢清監督の2008年度作『トウキョウソナタ』と岩井俊二監督の1995年度作品『Love Letter』を購入しました。
ในเดือนนี้ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ขอแนะนำดีวีดีใหม่ที่ทางศูนย์ญี่ปุ่นฯได้จัดซื้อเพิ่มเติม คือ เรื่อง “Tokyo Sonata” ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2551 ของผู้กำกับ คิโยชิ คุโรซาวะ และ “Love Letter” ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2538 ของผู้กำกับ ชุนจิ อิวาอิ


『トウキョウソナタ』は東京に暮すサラリーマンの家庭の崩壊と再生を描いています。黒沢監督はこの映画でカンヌ国際映画祭でUn Certain Regard Jury Prizeを獲得しました。

“Tokyo Sonata” เป็นภาพยนตร์ดราม่าที่เล่าถึงชีวิตครอบครัวของมนุษย์เงินเดือนที่อาศัยอยู่ในโตเกียว ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผู้กำกับคุโรซาวะได้รับรางวัล Un Certain Regard Jury Prize จากเทศกาลหนังเมืองคานส์
また中山美穂主演の『Love Letter』は小樽と神戸を舞台に繰り広げられる物語です。この映画はアジア各国でヒットし、多くの観光客が小樽に押しかけるといった現象を引き起こしました。
本日から、この日本現代映画の代表作2本は日本研究センターにて閲覧できます。
าพยนตร์อีกเรื่อง คือ “Love Letter” แสดงนำโดย มิโฮะ นาคายาม่า เป็นภาพยนตร์ที่เล่าสลับเหตุการณ์ (ฉาก) ที่เกิดขึ้นที่ โกเบและโอตะรุ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความนิยมมากในประเทศแถบเอเชีย จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า นักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลไปเที่ยวโอตะรุ ทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นร่วมสมัย ท่านสามารถมาดูได้ที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้ตั้งแต่วันนี้


“การจัดระเบียบความคิด” โทยาม่า ชิเงฮิโคะ 外山滋比古『思考の整理学』



โทยาม่า ชิเงฮิโคะ  การจัดระเบียบความคิดสนพ. ชิคุมะ โชโบะ 外山滋比古『思考の整理学』筑摩書房
※ ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ สนพ.ชิคุมะ บันโกะ พ.ศ. 2529
(ตีพิมพ์ครั้งแรกกับ สนพ. ชิคุมะ โชโบะ พ.ศ. 2526)
ちくま文庫版1986年第一刷(初版は筑摩書房から1983)
   น่าเสียดายที่ห้องสมุดของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ไม่มีหนังสือที่ชื่อว่า การจัดระเบียบความคิด ของโทยาม่า ชิเงฮิโคะ (อ.โอตะได้นำมาบริจาคแล้ว) อย่างไรก็ตาม ที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯก็มีหนังสือเล่มอื่นของโทยาม่า คือ เคล็ดลับความคิดของอัจฉริยะ และ คิดด้วยตัวเอง

残念ながらセンターには『思考の整理学』はありませんがその後太田先生から寄贈していただきました)外山による『知的創造のヒント』と『自分の頭で考える』の2冊があります。
   โทยาม่า ชิเงฮิโคะ (1923~) เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารภาษาอังกฤษ และศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีอังกฤษในมหาวิทยาลัย ถึงอย่างนั้นก็ตาม โทยาม่าก็เคยเป็นนักวิจารณ์เกี่ยวกับลักษณะพิเศษของภาษาญี่ปุ่นอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้เขายังเขียนหนังสืออีกหลายต่อหลายเล่ม อย่างเล่มแรกคือเรื่อง ลักษณะของภาษาญี่ปุ่น
 外山滋比古(1923)は、英語雑誌の編集者、大学の英文学の教授であったが、日本語の特質についても、長期間にわたってすぐれた批評活動を行ってきた。そして、すでに『日本語の個性』を始めとする多くの著作がある。
 この本も、およそ30年前の1983年に出版され、何度も増刷されてきたロングセラーである。これが最近東京大学や京都大学の学生の間で一番読まれた本として有名になり、2007年ごろからベストセラーとなって、昨年ついに100万部を超えた。30年も前に書かれたにもかかわらず、本の内容はまったく古くなっていない。
   หนังสือเรื่อง การจัดระเบียบความคิดเล่มนี้ ถูกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2526 หรือเกือบ 30 ปีก่อน เป็นหนังสือที่วางจำหน่ายยาวนาน (Long Seller) และมีการตีพิมพ์หลังจากนั้นอีกหลายครั้ง หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือขายดี (Best Seller) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และล่าสุดเมื่อปีที่แล้วก็มีการตีพิมพ์กว่าร้อยล้านเล่ม ในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้นิยมอ่านกันมาก และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเกียวโต และถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นมาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่เนื้อหาภายในเล่มก็ยังไม่ล้าสมัยเลยแม้แต่น้อย
 この本は、アイディアを考え出すための技術ではなく、よい考えを生み出すためには、どのような環境がよいのか、どのような環境が必要かがテーマになっている。例えば、知識をつめこみすぎると、アイディアが生まれにくくなることもあると言い、情報が多すぎるときは、捨てたり忘れたりするのも悪いことではなく、考えを整理するのに必要なことであると指摘している。新しいことを知るのも楽しいが、考えることにも楽しさがあることを教えてくれる本である。
หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสือที่ถ่ายทอดความคิดที่ล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังพยายามสร้างความคิดดีๆให้เกิดขึ้นอีกด้วย อย่างหัวข้อที่ว่า สภาพของสมองที่ดีเป็นอย่างไร และสภาพของสมองจำเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่สมองมีข้อมูลข่าวสารเยอะเกินไป หรือมีความรู้ที่อัดแน่นมากเกินไป ก็ยากที่จะเกิดความคิดเห็นอื่นๆ และการที่เราจะลืมไปบ้างหรือลบทิ้งไปบ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งสำคัญในการจัดระเบียบความคิด ถึงแม้ว่าการรู้เรื่องราวใหม่ๆจะทำให้เรารู้สึกสนุกสนาน แต่หนังสือเล่มนี้ก็บอกเราว่าการใช้ความคิดก็ทำให้เราสนุกสนานได้เช่นกัน 
 外山の書く文章は、難しい表現を使わず簡潔で読みやすい。日本の文学の中でも日本人以外にあまり知られていない評論という分野への第一歩として、日本語を学んだ学生が読んでみる本としても最適である。
หนังสือที่โทยาม่าเขียนเป็นหนังสือที่อ่านง่าย กระชับ และมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ซับซ้อน เริ่มแรกทีเดียวหนังสือเล่มนี้ก็ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในหมู่นักวิจารณ์วรรณคดีญี่ปุ่นที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะอยู่ในหมวดหนังสือวรรณคดีด้วยกันก็ตาม หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับนักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่นควรจะหามาอ่าน
อ. โอตะ ทาคาชิ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  評者 太田卓志(チェンマイ大学人文学部日本語学科)คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิีริกร เสือเหลือง ผู้ิืแปล 翻訳 シリコン・スアルアン(チェンマイ大学人文学部日本研究センター) 

Mar 19, 2010

ได้รับบริจาค “Japan Video Topics” วีดีโอญี่ปุ่นศึกษา 日本事情ビデオ『Japan Video Topics』の寄贈



在チェンマイ総領事館から日本事情ビデオ『Japan Video Topics』を寄贈していただきました。
このビデオシリーズは日本の文化、テクノロジー、自然、観光、社会に関する情報を満載しています。現在、2009/2010年度第4巻から9巻までをセンターにて視聴することができます。
また、Trend in Japanのウェブサイトからも『Japan Video Topics』を視聴することができます。http://web-japan.org/index.html


ขอขอบคุณสถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ที่ได้มอบวีดีโอญี่ปุ่นศึกษา “Japan Video Topics” ให้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ 
วีดีโอชุดนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเป็นไปในประเทศญี่ปุ่นทั้งทางด้านวัฒนธรรม, เทคโนโลยี, ธรรมชาติ, การท่องเที่ยว และสังคม เป็นวีดีโอลำดับที่ 4 ถึง 9 ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2552/2553 ท่านสามารถมาดูได้ที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ หรือ เข้าไปดูหัวข้อ "Japan Video Topicsในเว็บไซต์ Trend in Japan http://web-japan.org/index.html ก็ได้เช่นกัน 

Mar 12, 2010

แนะนำพนักงานใหม่ 新職員の紹介



みなさん、いかがお過ごしでしょうか。ここチェンマイは3月に入り、日に日に暑さがましてきました。有難くない名物の煤煙も街を覆っています。สวัสดีครับทุกคน ช่วงนี้เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอเข้าเดือนมีนาคม อากาศที่เมืองเชียงใหม่ก็ดูจะร้อนขึ้นทุกวัน และหมอกควันก็ปกคลุมไปทั่วเมือง
新たに臨時職員2名がセンターに加わりましたのでご紹介いたします。เนื่องจากทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯได้รับพนักงานชั่วคราวเข้ามาทำงานที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ 2 คน จึงขอแนะนำให้ทุกคนรู้จักครับ

写真左がシリコーンさんです。バンコクにあるシラパコーン大学で日本語を勉強した後、日系企業で働いていました。シリコーンさんは10月に行われる第4回タイ国日本研究ネットワーク(JSN)の全国大会の事務を担当していただきます。รูปทางซ้ายคือ คุณสิริกร เรียนจบเอกภาษาญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และเคยทำงานอยู่ที่บริษัทญี่ปุ่น คุณสิริกรจะมาทำหน้าที่ประสานงานของโครงการประชุมวิชาการระดับชาติของเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาครั้งที่ 4 ที่จะจัดในเดือนตุลาคมนี้ 
かわって右側は当大学日本語学科のチャヤーポーンさんです。彼女はパートタイムとして来てもらっており、北部タイ日本語・日本研究大学コンソーシアムの事務を担当してもらいます。ส่วนทางด้านขวาคือ คุณชยาภรณ์ นักศึกษาเอกภาษาญี่ปุ่นของคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คุณชยาภรณ์จะมาเป็นนักศึกษาฝึกงาน โดยจะทำหน้าที่ประสานงานของเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาภาคเหนือให้กับทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ

日本語が堪能で優秀な2人です。どうぞよろしくお願いします。ทั้ง คนสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว ก็ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักนะครับ 

ประชาสัมพันธ์การบรรยายทางวิชาการของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาครั้งที่ 6 日本人歴史家の見たタイの歴史



ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2553 เวลา 13.30 น.-16.30 น. ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการบรรยายทางวิชาการประจำเดือน ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ไทยจากสายตานักวิชาการญี่ปุ่น;ศาสตราจารย์ อิชิอิ โยเนะโอะ" ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์สายชล สัตตยานุรักษ์ มาเป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้ สถานที่ที่ใช้ในการบรรยายคือ อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์ HB7802ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้ารับฟังการบรรยายได้ หากต้องการติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-943284


来る3月24日にチェンマイ大学人文学部にて公開講義『日本人歴史家の見たタイの歴史』を開催いたします。去年末から今年にかけて、タイ研究の第一人者、石井米雄教授と吉川利治教授が相次いで亡くなられました。チェンマイ大学人文学部歴史学科からサイチョン・サタヤーヌラク教授をお招きして、お二人の功績を振り返っていただきます。サイチョン教授は石井教授、吉川教授の共著『日・タイ交流600年史』のタイ語翻訳プロジェクトに編集長として参加し、お二人と親しくされていました。今回の講義はすべてタイ語での進行となりますが、偉大な日本人タイ研究家の功績を振り返る上で見逃せない講義となりますので、是非ともご参加ください。お問い合わせ:日本研究センター 053-943284

Mar 11, 2010

การบรรยายพิเศษญี่ปุ่นศึกษา หัวข้อ"สหกรณ์การเกษตรในประเทศญี่ปุ่น:เมืองฮอกไกโด"



ในวันที่ 5มีนาคม พ.ศ. 2553  ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการบรรยายพิเศษญี่ปุ่นศึกษา ในหัวข้อ "สหกรณ์การเกษตรในประเทศญี่ปุ่น:เมืองฮอกไกโด" ขึ้น ณ HB7704 คณะมนุษยศาสตร์ เวลา 11.00 น.- 12.30 น. โดยได้รับเกียรติจากอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น คุณ อาเบะ  ยูทาคะ(Mr. Yutaka Abe) ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานสหกรณ์การเกษตรในประเทศญี่ปุ่น(Former Inspector of Japan Agricultural Cooperatives(JA) in Otofuke City, Hokkaido)มากกว่า 40 ปีมาเป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษครั้งนี้

เนื้อหาของการบรรยายครั้งนี้ประกอบไปด้วย บทบาทของสหกรณ์การเกษตรของประเทศญี่ปุ่น นโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารและสภาพการเกษตรในเมืองฮอกไกโด โดยมีชาวญี่ปุ่น อาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นและนักศึกษาให้ความสนใจมาเข้าร่วมฟังการบรรยายจำนวน 20 คน ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านต่อไปในอนาคต